วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Google Glass แว่นตาอัจฉริยะ

Google Glass  แว่นตาอัจฉริยะ


         แว่นตาเป็นกระจกที่ใส่ไว้ในกรอบสำหรับสวมบนใบหน้าโดยมีแท่นรองรับบนสันจมูก    และก้านแว่นเกี่ยวที่ใบหู   ในสมัยโบราณมีแว่นตาบางชนิดที่ใช้วางอยู่หน้าตาข้างใดข้างหนึ่งสำหรับผู้สูงอายุเมื่อต้องการดูของใกล้ เมื่อไม่ต้องการดูก็ถอดออก ส่วนอัจฉริยะ คือ ความวิเศษน่าอัศจรรย์  มีความรู้ความสามารถเกินกว่าระดับปรกติมาก  ดังนั้น แว่นตาอัจฉริยะ จึงเป็น แว่นตาที่ผสมเทคโนโลยีใหม่ทันสมัย ซึ่งมีความวิเศษน่าอัศจรรย์
          ปัจจุบันกระแสความคลั่งไคล้เทคโนโลยีแวเรเบิล (wearable) กําลังมาแรงจึงทำให้กูเกิล (Googleมีการพัฒนาได้เผยโปรเจคท์ใหม่กับแว่นตาแห่งโลกอนาคต อย่าง Google Glass

ทำความรู้จัก Google Glass
Google Glass  คืออะไร
          Google Glass  คือ  แว่นตาที่ผสมเทคโนโลยีใหม่ทันสมัย  Google ที่พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ให้ได้เห็นอยู่เสมอ และได้มีการพัฒนา แว่นตาที่เรียกว่า Google Glass ขึ้นมาและจะเริ่มวางจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาในปีหน้า 2014 ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )
           Google Glass  คือ แว่นตาชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษมหัศจรรย์ โดยใส่เทคโนโลยีเพิ่มเข้าไป ทำให้แว่นตาสามารถทำหน้าที่ได้หลายอย่างแบบไม่น่าเชื่อเรียกไว้ว่าเป็นแว่นตาคอมพิวเตอร์ก็ได้ เพราะมันทำได้หลายอย่างเหมือนคอมพิวเตอร์ทำได้ ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )
           Google Glass  คือ  คอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ได้ (Wearable Computer) ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Ubiquitous Computing หรือการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ทุกที่ทุกเวลา โดยถูกออกแบบสำหรับสวมใส่แทนแว่นตาหรือร่วมกับแว่นตา เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองผ่านจอภาพที่จะแสดงผลเป็นภาพซ้อนอยู่เหนือสิ่งที่ผู้ใช้จะมองเห็นจริง (Augmented Reality) ในรุ่นปัจจุบัน Google Glass จะมีจอภาพอยู่เหนือตาข้างขวา จึงสามารถใช้ตาขวามองจอภาพได้ตลอดเวลาใช้ระบบปฏิบัติการ Android ด้านหน้ามีหน้าจอแสดงผลเล็กๆ หน้าจอนี้มีตัวตรวจจับการเคลื่อนไหว การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมี GPS และระบบ 3G 4G มี Wi-Fi และ Bluetoothหลายๆฟังชั่น ของ Google Glass เหมือนกับระบบ Smartphone รุ่นใหม่ สามารถเชื่อมต่อส่งข้อมูลกันได้ ผ่านทาง Wi-Fi หรือ Bluetooth 4.0, ด้านหน้ามีกล้องสำหรับถ่ายภาพและวีดีโอ
          Google Glass มีคุณสมบัติและฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกับสมาร์ทโฟน ทั้งเรื่องของการถ่ายภาพ และฟีเจอร์ที่ดึงเอางานถนัดอย่างระบบค้นหา เข้ามาผสม ที่โดดเด่นก็คือระบบการค้นหาด้วยเสียง เพราะจะมีส่วนของไจโรสโคปตัววัดต่างๆ ( accelerometer ) และเข็มทิศ ซึ่งทั้งหมดจะถูกรันด้วยหน่วยประมวลผล และมีการเชื่อมต่อ อาทิ Wi-Fi , Bluetooth , GPS  ( Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )

รายละเอียดและส่วนประกอบหลักของ Google Glass
ส่วนประกอบหลักของตัวเครื่องที่อยู่ด้านนอก ได้แก่
          ก้านแว่นตาซึ่งมีความแข็งแรงทนทาน วัสดุทำจากไทเทเนียม สามารถปรับระดับก้านแว่นตาให้รองรับกับขนาดโครงหน้าที่ต่างกัน มีก้านรองจมูกที่ปรับโค้งงอได้ แต่ไม่มีกรอบแว่นและเลนส์แว่นติดมา


กระจกใสทรงปริซึมสี่เหลี่ยม ภายในมีจอแสดงผลความละเอียด 640x360 พิกเซล

          เลนส์กล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล (สามารถปรับองศาของกล้องและจอแสดงผลได้
ในแนวระนาบ)


เซ็นเซอร์สัมผัสหรือทัชแพด (ก้านสีดำข้างขวาติดกับเลนส์กล้อง) สามารถใช้นิ้วปัดเลื่อนไปทางซ้าย-ขวาของทัชแพดเพื่อเลื่อนเมนู / ใช้นิ้วปัดลงจะเป็นการถอยหลัง (back) กลับไปหน้าก่อน


มุมขวาบนของก้านแว่นมีปุ่มชัตเตอร์สำหรับถ่ายรูป การถ่ายรูปสามารถใช้คำสั่งเสียง "take a picture" 
หรือการขยิบตาขวาเพื่อถ่ายรูปได้

ส่วนประกอบหลักของตัวเครื่องที่อยู่ด้านใน ได้แก่

ไมโครโฟนถูกติดตั้งอยู่ที่ด้านหลังกล้อง



ปุ่ม Power On/Off อยู่บริเวณปลายตัวเครื่อง ด้านล่างมีพอร์ต microUSB เวลาชาร์จแบตเตอรี่จะมี
ไฟ LED สีขาวกระพริบ


ปุ่มที่อยู่ใกล้กับหูข้างขวา ซึ่งมีคำว่า "GLASS" ติดอยู่เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับว่ามีการสวมใส่อุปกรณ์
และมีลำโพงที่ส่งเสียงด้วยระบบเสียงเทคโนโลยี Bone Conduction Transducer


specification


            - จอแสดงผลความละเอียดสูง การแสดงผลเทียบเท่ากับการมองหน้าจอขนาดกว้าง 25 นิ้ว ในระยะห่าง 8 ฟุต
             - กล้องถ่ายรูปความละเอียด 5 ล้านพิกเซล
             - บันทึกวิดีโอความละเอียด HD 720p
             - ระบบเสียงเทคโนโลยี Bone Conduction Transducer
             - รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 b/g
             - รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth
             - พื้นที่เก็บข้อมูลภายในเครื่อง 12GB รองรับการซิงค์ข้อมูลผ่านที่เก็บข้อมูลออนไลน์ Google Coud Storage
             - แบตเตอรี่ 1 วันสำหรับใช้งานทั่วไป (บางฟีเจอร์อย่างเช่น การบันทึกวิดีโอจะใช้พลังงานแบตเตอรี่มากกว่าปกติ)
            - รองรับพอร์ต microUSB (สำหรับการชาร์จแบตเตอรี่และเสียบหูฟัง Earbud)
            - รองรับการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ Android 4.0.3 ขึ้นไป หรือ อุปกรณ์ iOS 7 ขึ้นไป โดยใช้งานผ่านแอพฯ MyGlass

อุปกรณ์เสริมและสิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งาน Google Glass 


อุปกรณ์เสริม

        ซองกันกระแทก
        Mono Earbudsหูฟังสำหรับใส่หูข้างขวา
        เลนส์กรองแสงแบบแว่นกันแดด (มีจำหน่ายแยก)

สิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งาน Google Glass 
       แว่น Google Glass
       บัญชี Google Account (บัญชีแบบเดียวกับที่ใช้ติดตั้งบนสมาร์ทโฟนแอนดรอยด์)
       สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและใช้งาน Bluetooth ได้ (อุปกรณ์แอนดรอยด์4.0.3 ICS ขึ้นไป หรืออุปกรณ์ IOS 7 ขึ้นไป)
       แอพพิเคชั่น  My  Glass
การติดตั้ง Google Glass
          แตะปุ่ม Power เพื่อให้ Google Glass ทำงาน จากนั้นก็ทำการสวมแว่น เมื่อมองไปที่หน้าจอจะเห็นคำว่า GLASS โชว์ค้างไว้ รอสักพักจะมีหน้าแนะนำการควบคุมแว่นโดยใช้นิ้วสัมผัสทัชแพด


การติดตั้งแอพพิเคชั่น  My  Glass

          เมื่อติดตั้งแล้วก็ทำการเปิดแอพพิเคชั่น  My  Glass บนสมาร์ทโฟน โดยเปิด Bluetooth และต่อ Wi-Fi หรือเชื่อมต่อข้อมูลเครือข่ายให้เรียบร้อย หน้าแรกจะเป็นการแนะนำแว่น Google Glass ด้วยคลิปวิดีโอ หน้าถัดไปจะมีให้เลือกบัญชี Google Account ที่ต้องการใช้งาน และให้ยอมรับเงื่อนไขการใช้งานตามที่ Google กำหนด
           จากนั้นเข้าสู่หน้าการจับคู่ Google Glass กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนผ่านทาง Bluetooth โดยอุปกรณ์สมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วยในขณะที่ทำการจับคู่
         เมื่อการเชื่อมต่อเสร็จสิ้น ก็สามารถใช้งาน Google Glass ได้เลย


วิธีการใช้งานและการแสดงผล
          การใช้งาน Google Glass สามารถใช้คำสั่งเสียง (ภาษาอังกฤษ) หรือทัชแพดก็ได้เริ่มต้นใช้งานให้พูดว่า
 "ok glass" เพื่อเรียกเมนูหลัก

สามารถใช้เสียงพูดออกคำสั่งพื้นฐานได้ดังนี้
           send a message to... คือ คำสั่งส่งข้อความ
           make a call to... คือ คำสั่งโทรออก
           get directions to ... คือ คำสั่งหาเส้นทางด้วย Google Maps พร้อมระบบนำทางด้วยเสียงพูด (ภาษาอังกฤษ)
           record a video คือ คำสั่งบันทึกวิดีโอ
           google...คือ คำสั่งค้นหาข้อมูลจาก Google searh  ด้วยเสียงพูด (ยังไม่รองรับเสียงพูดภาษาไทย)
เมนูการตั้งค่า
          สามารถดูสถานะแบตเตอรี่ที่เหลืออยู่สถานะการเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth, ระดับเสียง และการตั้งค่าเซ็นเซอร์ต่างๆ ของแว่นได้

การใช้งานพื้นฐานอื่นๆ ด้วยแว่น Google Glass
         - รับสายเข้า
         - โทรออก(ต้องกดปุ่มโทรออกจากสมาร์ทโฟน)
         - รับ - ส่งข้อความ SMS และ ส่งข้อความเสียงผ่าน Hangouts รองรับข้อความภาษาอังกฤษ ข้อความภาพถ่ายและวิดีโอที่บันทึกด้วยกล้องของแว่น (สามารถอ่านข้อความที่เข้ามาได้แต่ถ้ามีข้อความภาษาไทยเข้ามาจะมองไม่เห็นตัวอักษร) 
         - ดูกำหนดการนัดหมายในปฏิทินของวันนี้
         - ท่องเว็บไซต์ (ยังไม่รองรับเนื้อหาคอนเทนต์ที่เป็นตัวอักษรภาษาไทย ถ้าเปิดอ่านจะเห็นเป็นช่องว่าง)
Glassware Gallery
แอพพิเคชั่นที่สามารถนำมาใช้งานบน Google Glass
           แอปพลิเคชั่น คือซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งสำหรับใช้งานสำหรับงานเฉพาะทาง ซึ่งแตกต่างกับซอฟต์แวร์ประเภทอื่น เช่น ระบบปฏิบัติการ ที่ใช้สำหรับรับรองการทำงานหลายด้าน โดยไม่จำเพาะเจาะจง
           Glassware Gallery  คือ  แอพพิเคชั่นที่สามารถนำมาใช้งานบน Google Glass ได้ ซึ่งหากต้องการ
ใช้งานจะต้องติดตั้งผ่านทางแอพพิเคชั่น MyGlass> Glassware Gallery โดยมีแอพพิเคชั่น  ดังนี้
§  94Fitty Basketball - คำนวนระยะชู๊ตบาสเก็ตบอล 
§  Allthecooks Recipes - สูตรเมนูอาหาร
§  CNN Breaking News - ข่าวล่าสุดจาก CNN
§  Compass - เข็มทิศ
§  Concur - บันทึกรายจ่าย
§  ELLE - อัพเดทข่าวแฟชั่น
§  Evernote - บันทึกย่อ
§  Facebook - อัพโหลดภาพและวิดีโอแชร์ไปบน Facebook 
§  Fancy - ช้อปปิ้งออนไลน์
§  Field Trip - ดูเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของสถานที่สำคัญซึ่งอยู่ตรงหน้า
§  Foursquare - เช็คอิน Foursquare ด้วยแว่น
§  Gmail - อ่านอีเมล์ที่เข้ามา
§  GolfSight by SkyDriod - GPS หาตำแหน่งลูกกอล์ฟพร้อมแสดงระยะห่างจากหลุมด้วยมุมมองแผนที่ดาวเทียม
§  Google Galendar - แสดงข้อมูลกำหนดการหรือนัดหมายที่บันทึกไว้ในปฏิทิน
§  Google Now - แสดงบัตรข้อมูลที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น ข้อมูลระยะการเดินทาง
§  Google Play Music - ฟังเพลง (ใช้งานได้เฉพาะบางประเทศ ในประเทศไทยยังไม่รองรับ)
§  Google+ - แชร์อัพเดทต่างๆ ไปยัง Google+
§  Hangouts - สนทนาด้วยข้อความตักอักษรพร้อมส่งไฟล์รูปภาพที่ถ่ายด้วยกล้องในแว่น
§  IFTTT - ทำงานตามคำสั่งในรูปแบบเงื่อนไขล่วงหน้า
§  Jewish Guide for Glass - เตือนความจำสำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่น เตือนเวลาเข้าโบสถ์ ด้วยข้อมูลพิกัดตำแหน่งและคำแนะนำในการเดินทาง
§  KitchMe - แนะนำสูตรอาหารและวิธีการปรุง
§  LynxFit - ผู้ช่วยส่วนตัวสำหรับติดตามพฤติกรรมการออกกำลังกาย
§  Marketing Land - ข่าวการตลาด
§  Mashable Velocity - ติดตามข่าวเด่นประเด็นดังและสิ่งที่เป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์
§  Mini Games - เกมส์ฝึกทักษะด้วยแว่น
§  OpenTable - จองร้านอาหาร
§  OVGuide for Glass - แสดงวิดีโอจากแวดวงบันเทิงและวงการกีฬา
§  Path - โซเชียลเน็ตเวิร์ค Path
§  PosterBoy - บันทึกภาพโพสเตอร์โดยอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ สามารถเรียกดูได้ถ้าคนที่ใช้งานแว่นผ่านมาใกล้ๆ
§  Refresh - เก็บข้อมูลรายละเอียดของผู้คนที่สนใจ
§  Spellista - เกมทายคำ
§  SPG for Glass - ค้นหาโรงแรมหรือที่พักหรูจากทั่วโลก
§  SportYapper - อัพเดทข่าวสารและสกอร์ของกีฬา NFL, MLB, NBA, NHL
§  Stopwatch - ตัวจับเวลา
§  Strava Cycling - จับระยะการขับขึ่จักรยานด้วย GPS
§  Strava Run - จับระยะทางหรือระยะการวิ่งด้วย GPS 
§  Swingbyte - ตรวจจับความเร็วและองศาในการหวดวงสวิง (กอล์ฟ) ด้วยแว่น
§  The New York Times - ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจ
§  Thuuz Sports - ดูสกอร์เกมส์กีฬา และอัพเดทล่าสุดในระหว่างการแข่งขัน
§  Timer - ตัวตั้งเวลา
§  Triplt from Concur - แจ้งเตือนข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งาน เที่ยวบินและตารางรถไฟ (ใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐ)
§  Tumblr - แชร์อัพเดท ภาพและวิดีโอไปยังโซเชียลTumblr
§  Twitter - อ่านทวีตจาก timeline บนทวิตเตอร์ของผู้ใช้งาน โพสทวีต เข้าถึงข้อความส่วนตัว
§  Umano - ฟังข่าวและเทรนด์ที่น่าสนใจประจำวัน
§  Video Voyager - สำหรับนักเดินทางที่ต้องการบันทึกวิดีโอและจัดเก็บตำแหน่งสถานที่และแชร์ให้ผู้ใช้งานแว่นคนอื่นทราบ
§  Vodo - จัดการและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ Google Drive
§  Weather Alert - แจ้งเตือนสภาพอากาศที่เลวร้าย เช่นพายุทอร์นาโด (ใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐ)
§  Winkfeed - อ่านข่าวเด็ดประเด็นร้อนจากสื่อชั้นนำ
§  Word Lens - แปลความหมายจากข้อมูลภาพแบบรีลไทม์ (แปลภาษาโปรตุเกส เยอรมัน ฝรั่งเศส สเปน ภาษาอังกฤษ)
§  Word of the Day - เรียนรู้คำศัพท์ใหม่อัตโนมัติทุกวัน
§  Youtube - อัพโหลดวิดีโอที่บันทึกลงไปบน Youtube
*** หมายเหตุ
         บางแอพพิเคชั่นใน Glassware Gallery ยังไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศไทย

ตัวอย่างการแสดงผลการใช้งาน Glassware Gallery 
บางแอพพิเคชั่นผ่านแว่น Google Glass
Google Now สามารถดูสภาพอากาศ และพยากรณ์อากาศล่วงหน้าได้


Google Now สามารถดูข้อมูลหุ้นที่สนใจ


Facebook สามารถแชร์รูปภาพที่ถ่ายด้วยกล้องบนแว่น Google Glass ได้


Winkfeed - อ่านข่าวเด็ดประเด็นร้อนจากสื่อชั้นนำ


Mini Games - เกมส์ฝึกทักษะด้วยแว่น ใช้วิธีขยับศีรษะและการควบคุมผ่านทัชแพด


จุดเด่น - จุดด้อย ของ Google Glass

จุดเด่น


·         สวมใส่สบาย
·         Google Now ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างดีเยี่ยม
·         ถ่ายรูปและวิดีโอได้สะดวกและง่ายดาย
·         ระบบนำทางทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม

จุดด้อย

·         ราคาแพง  $1500  ( 46,000-48,000 บาท)
·         อายุการใช้งานแบตเตอรี่ค่อนข้างน้อย
·         แอพพิเคชั่นยังมีน้อยอยู่
         ในตอนนี้ Google Glass คงยังไม่เหมาะกับผู้ใช้ทั่วไป ด้วยราคาที่แพงมากและความสามารถที่ยังจำกัดอยู่ทำให้ต้องเวลาในการพัฒนามากกว่านี้  เมื่อมีแอพพิเคชั่นมากขึ้น กล้องที่ดีขึ้น แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้เต็มวันสบายๆ และมีราคาที่ลดต่ำลงกว่านี้ มันน่าจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจและได้รับความนิยมอย่างไม่ยาก

Google Glass กับผลกระทบต่อวงการธุรกิจต่างๆ
          Google ได้ทำการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีสุดล้ำ สำหรับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นใหม่ล่าสุดของโลก ซึ่งมีคนจำนวนมากให้ความสนใจและติดตามอย่างใกล้ชิดถึงสิ่งที่ทาง Google เชื่อว่า ผลงานชิ้นโบว์แดงชิ้นนี้ จะเปลี่ยนแปลงโลกของผู้บริโภค IT ตลอดไป และนี่คือที่มาของ Google Glass สิ่งประดิษฐ์ทาง IT ที่จะไม่ได้มีอยู่แค่ในภาพยนตร์ แต่กำลังจะเกิดขึ้นจริง และมีความเป็นเป็นไปได้ว่า Google Glass จะมาทำให้วงการ Tablet, Smart phone, หรืออุปกรณ์จอสัมผัสต่างๆ กลายเป็นภาพในอดีตไป ดังนั้นการคิดค้น Google Glass ขึ้นมาในครั้งนี้จึงเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง พร้อมกันนั้นกระแสสังคมเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กัน
ว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้างบนโลกใบนี้
         สำหรับนวัตกรรมล่าสุดที่ทั่วโลกกำลังจับตามอง คือ Google เทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ในรูปแบบของแว่นตา ซึ่งมาพร้อมกล้องถ่ายรูปในตัว ระบบนำทาง GPS ที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม การแจ้งเตือนรูปแบบต่างๆ และ ระบบสั่งงานและควบคุมด้วยสียง แต่ทางบริษัท intelligence Software ได้มีการส่งสัญญาณเตือนเครือข่ายธุรกิจต่างๆถึงการก้าวเข้ามาของแว่นตามหัศจรรย์ที่ถูกออกแบบมาให้การมองเห็นของผู้ใช้อุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ใช่การมองธรรมดาๆอีกต่อไป ถึงแม้ว่าสินค้าชิ้นนี้ของ Google จะปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการทำงานของคนทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามนอกจากข้อดีในหลายด้านที่อาจจะเป็นประโยชน์ต่อวงการธุรกิจต่างๆแล้วนั้น ยังมีธุรกิจบางกลุ่มซึ่งไม่เห็นด้วยหรือไม่ได้ชอบใจนักกับนวัตกรรมสุดล้ำเทคโนโลยีชิ้นนี้ จากการตรวจสอบตามกระแสสังคมจากหลายแหล่งที่มา พบว่า วงการธุรกิจบางกลุ่มที่ไม่ได้รู้สึกชื่นชมกับสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ เพราะมองว่าจะดึงดูดความสนใจหรือเบี่ยงเบนพฤติกรรมผู้บริโภคจำนวนมาก จากการสำรวจกระแสตอบรับและข้อคิดเห็นต่างๆบนโลกออนไลน์ พอจะสรุปคร่าวๆได้จากตัวอย่างธุรกิจ ที่ Google Glass จะเข้ามามีผลกระทบในอนาคต  ดังนี้

YouTube Education

         การค้นพบ Google Glass จะส่งผลกระทบต่อ YouTube โดยตรง เช่น การดูวีดีโอวิธีการทำอาหารผ่าน Google glass ในขณะที่กำลังเตรียมการทำอาหารนั้นๆ ย่อมต้องสะดวกสบายกว่าการดูวีดีโอด้วยวิธีธรรมดาทั่วไปแน่นอน

Aviation

         หลังจากเปิดตัว Google Glass Map ซึ่งเป็น 1 ในความสามารถอันมีประสิทธิภาพของ Google Glass เชื่อได้ว่า นักบินน่าจะติดใจกับการดูแผนที่ในการบินผ่านแว่นตา Google Glass ที่สมจริง และสะดวกกว่าเดิมหลายเท่า ถึงวันนั้นอาจจะต้องดูว่าผู้ช่วยนักบินจะยังจำเป็นต้องมีอยู่อีกหรือไม่ เพราะผู้ช่วยคนใหม่ คือ Google Glass อาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการสั่งงานด้วยเสียง หรือ การให้ข้อมูลที่แม่นยำและสมจริง (Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )

Healthcare

          ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เชื่อว่า Google Glass จะมีประโยชน์มหาศาลกับวงการแพทย์ในอนาคต โดยเฉพาะสำหรับการผ่าตัดที่ซับซ้อน ถ้าหากแพทย์และพยาบาลสามารถเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ก่อนที่คนไข้จะมาถึง ด้วยการถ่ายทอดวีดีโอรายงานความคืบหน้าและอาการของคนไข้อย่างใกล้ชิด ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตได้มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น การอ่านประวัติคนไข้ผ่านแว่นตา Google Glass จะช่วยลดขั้นตอนการหาเอกสาร ผลตรวจต่างๆ และเพิ่มความสะดวกเป็นอย่างมาก Google Glass ยังสามารถเป็นสื่อการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแพทย์ทั่วโลก ให้สามารถศึกษาจากสถานการณ์จริงในการรักษาคนไข้ได้อีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Google Glass ช่วยให้วงการแพทย์พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเพียงใด

Law Enforcement/Armed Forces

         ในการติดตามคดีต่างๆ จะทำได้ง่ายขึ้นด้วยการนำ Google Glass มาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นการหา ข้อมูลย้อนหลังประวัติอาชญากรรมต่างๆของผู้ร้าย การจำลองสถานการณ์ผ่านแว่น Google Glass ที่คุณมองเห็นว่าข้างหน้าจะมีเหตุการณ์อะไร และเจ้าหน้าที่ต้องแก้ปัญหาอย่างไร หรือแม้แต่ให้ Google glass ช่วยจดจำใบหน้าผู้กระทำผิด ทะเบียนรถที่ใช้ก่อเหตุและอื่นๆอีกมากมาย

Competitive Intelligence

          Google Glass จะเป็นเครื่องช่วยในการแข่งขันทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น โดยจะช่วยในการศึกษาตลาด สินค้า โปรโมชั่น และวิธีการบริการลูกค้า ของคู่แข่ง โดยการบันทึกหรือถ่ายวีดีโอและแชร์ออนไลน์ให้กับทีมงานของคุณ ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคก็สามารถบันทึกและแชร์วีดีโอทาง Social Media ได้รวดเร็วขึ้นเช่นกัน จะเห็นได้ชัดเจนว่า ในเชิงธุรกิจ Google Glass สามารถสร้างความโดดเด่นในการใช้งานได้อย่างมากมาย จึงจำเป็นที่บริษัทต่างๆ จะต้องหาวิธีใช้ประโยชน์จาก Google Glass เพื่อนำมาพัฒนาวิธีการดึงดูดลูกค้า เพราะด้วยอาวุธทางการค้าอย่าง Google Glass นั้น จะสร้างอำนาจทางการค้าให้อยู่ในมือผู้บริโภคได้อย่างมากมาย ดังนั้นบริษัทต่างๆ จะต้องเตรียมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบต่อวงการธุรกิจ หลังจากที่ Google Glass เริ่มออกวางขายอย่างเป็นทางการในปี2014 เมื่อถึงวันนั้นจะเห็นชัดเจนขึ้นว่า บริษัทไหนได้เตรียมพร้อมรับมือได้เป็นอย่างดี หรือบริษัทไหนที่อาจจะยังไม่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

SWOT   Analysis

         SWOT  Analysis หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร(SWOT  Analysis ,  2557  :  ออนไลน์ )

การวิเคราะห์ Google Glass
         สิ่งที่น่าสนใจสำหรับเรื่องนี้ คือ Google Glass เป็นสุดยอดนวัตกรรมใหม่ที่จะมาปฏิวัติหลายๆวงการ ไม่ใช่เพียงแค่ IT แต่ รวมถึงธุรกิจต่างๆที่จะมีผลประโยชน์และผลกระทบไปพร้อมๆกัน Google Glass จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงวงการโทรศัพท์มือถือ Smart phone, Tablet หรือ อุปกรณ์ Touch Screen ในตลาดปัจจุบันที่ถือว่าประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง บริษัทคู่แข่งอย่าง Apple, Samsung, HTC ที่เคยเป็นผู้นำด้าน Smart Phone, และ Tablet ต่างๆ จะมีกลยุทธ์ในการรับมืออย่างไร หรือ มีการซุ่มคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือเหนือกว่าหรือไม่ เป็นสิ่งที่ทุกวงการยังคงให้ความสนใจและเฝ้าติดตามกันอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม จากกระแสตอบรับทางสังคมทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทำให้เห็นได้ว่า ในขณะที่วงการ IT กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลกระทบต่อ วงการธุรกิจอื่นๆ ตลอดจนวงจรชีวิตของมนุษย์ทั่วไปด้วย ทั้งนี้การก้าวล้ำของเทคโนโลยีอาจจะต้องคำนึงถึง การเติบโตของสังคมและธุรกิจ หรือ เรียกได้ว่า การพัฒนานั้นๆจะต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมไปพร้อมๆกัน
Strength (จุดเด่นหรือจุดแข็ง)
          Google Glass จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาดได้ด้วยคุณสมบัติที่มีครบครัน ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแว่นตาให้ง่ายต่อการสวมใส่ และดูดี รวมถึงวิธีการใช้งานที่ง่าย สะดวกกว่าการถือ Smart Phone หรือ Tablet อยู่ในมือ ตลอดจนความเพียบพร้อมไปด้วย Function มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Gesture Control เช่นการถ่ายรูปโดยการกระพริบตา การสั่งงาน หรือ หาข้อมูลด้วยเสียง และลูกเล่นต่างๆอีกมากมายที่เพิ่มมากขึ้นจาก การทำงานของ Smart Phone หรือ Tablet ปัจจุบัน ทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นจะส่งผลให้ Google Glass ทำรายได้ให้กับ Google อย่างมหาศาล และสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายในวงการธุรกิจ
Weakness (จุดด้อยหรือจุดอ่อน)
          ด้วย Functions ที่มี รวมถึงการพัฒนาต่างๆ สำหรับ Google Glass นั้น ส่งผลให้การคาดการณ์ราคาจำหน่ายน่าจะค่อนข้างสูง กว่าอุปกรณ์ทาง IT อื่นๆ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องธรรมดา เพราะถือว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะเป็นการปฏิวัติวงการ IT ได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ด้วยคุณสมบัติที่มี เช่นการถ่ายวีดีโอ หรือ ถ่ายรูป ที่ทำได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จะส่งผลชัดเจนในเรื่องของการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล หรือ แม้กระทั่งการละเมิดสิทธิทางปัญญา เช่น การแอบถ่ายวีดีโอขณะเข้าชมคอนเสิร์ต หรือ การถ่ายรูปในสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้ถ่าย และยิ่งไปกว่านั้นลองคิดดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าผู้สวมใส่ Google Glass ใช้งานในขณะที่กำลังขับรถ เดินข้ามถนน ทำงานในที่เสี่ยงอันตราย หากเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ที่คนเราติดโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ต่างๆ ซึงต้องก้มหน้าและใช้งานตลอด หากแต่ในอนาคต เรามองไปข้างหน้าแต่ไม่ได้ตั้งใจในสิ่งที่เรากำลังทำ แต่กลับจ้องไปที่การแสดงภาพของ Google Glass ซึ่งอยู่ในสายตาเราตลอดเวลา ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุย่อมสูงขึ้นตามมา Google สามารถทำได้เพียง เตือนผู้ใช้ให้ใช้อย่างถูกกาลเทศะ ซึ่งสุดท้ายก็คงต้องอยู่ที่ว่าผู้สวมใส่จะปฏิบัติตามหรือไม่
Opportunities (โอกาส)
          ด้วยโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นมากมายในทางธุรกิจ เช่น การเป็นช่องทางสำหรับโฆษณาออนไลน์ที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับผู้บริโภคมากขึ้น เพราะโฆษณาที่มองเห็นผ่านแว่นตาย่อมดูสมจริงกว่าโฆษณาธรรมดา Google Glass อาจจะเพิ่ม Function 3D เพื่อทำให้ทุกอย่างดูสัมผัสได้จริงมากขึ้นไปอีกก็เป็นได้ ดังที่กล่าวมานั้น เป็นที่แน่ชัดว่า Application ที่สามารถใช้งานบน Google Glass ได้ จะต้องมีความน่าสนใจมากทีเดียว เช่น Google Map แผนที่ที่เปรียบเสมือนมีคนนำทางผู้สวมใส่ Google Glass โดยที่เพียงแค่เดินมองทางไปข้างหน้าในขณะที่ลูกศรหรือเสียงจะบอกให้รู้ว่าต้องไปทางไหน รวมทั้งยังบอกอุณหภูมิ บอกชื่อเมืองปัจจุบันที่คุณอยู่ พร้อมทั้งช่วยแปลภาษาด้วย Google translate ได้ด้วยถ้าต้องการ ซึ่งจะแสดงผลเป็นคำและแสดงผลด้วยการออกเสียงที่ถูกต้องอีกด้วย และอื่นๆอีกมากมายที่จะเป็นโอกาสให้ Google Glass ได้ขึ้นแท่นเป็นผู้นำทางด้าน Wearable Device และครอบครองส่วนแบ่งในตลาด IT ได้อย่างง่ายดาย
Threats (อุปสรรค)
          เป็นที่รู้โดยทั่วกันว่าการแข่งขันในตลาด IT นั้น มีหลายบริษัทที่มีศักยภาพสูงในการคิดค้นและ
พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทาง IT ได้อย่างไม่น้อยหน้ากัน ซึ่งในขณะที่ Google Glass ได้มีการแนะนำสิ่งประดิษฐ์ล่าสุด หรือเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ตลาดก่อนการวางจำหน่ายนั้น เชื่อได้ว่า หลายๆบริษัทคงซุ่มเตรียมลงแข่งขันในตลาด Wearable Device อยู่เช่นกัน เพียงแต่ว่ากลยุทธ์ทางการตลาดอาจจะขึ้นอยู่กับเทคนิคของ
แต่ละบริษัท ซึ่ง Google ก็จะต้องเตรียมตัวรับมือจุดนี้เช่นกัน เพราะหากถึงวันนั้น ส่วนแบ่งในตลาด
ก้อนใหญ่ที่ Google Glass คิดจะครอบครองอาจจะต้องถูกแบ่งไปให้อีกหลายๆเจ้าในตลาด IT ด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้น มาก่อนย่อมได้เปรียบ หากแต่จะรักษาตำแหน่งผู้นำได้นานแค่ไหนจะเป็นบททดสอบของ Google Glass ต่อไป สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษอีกเรื่อง ซึ่งเป็นปัญหาหลักอีกปัญหาหนึ่ง คือ สินค้าลอกเลียนแบบในราคาที่จับต้องได้ คุณสมบัติอาจจะด้อยกว่า แต่โดยรวมก็สามารถใช้งานได้เช่นกัน จุดนี้ยังเป็นปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แน่นอน และ อุปสรรคหลักๆอีกประการหนึ่ง คือ กระแสสังคมในเชิงลบ ที่มีปฏิกิริยาตอบรับค่อนข้างรุนแรง เช่น บางสถานที่ถึงกับ ห้ามสวมใส่ Google Glass เช่น คาสิโน โรงภาพยนตร์ คอนเสิร์ต และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้ Google ต้องออกมาให้ความเห็นว่า ทุกอย่างจะสามารถปรับตามกติกาสังคมได้ หากเพียงแต่มีการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น สมัยที่มีการเริ่มใช้ Smart Phone ก็เกิดปัญหาเหล่านี้เช่นกัน แต่สังคมจะมีกฎเกณฑ์เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปได้ตามปกติ ซึ่งในกรณีของ Google Glass ก็ไม่ต่างกัน(SWOT  Analysis ,  2557  :  ออนไลน์ )

คู่แข่งทางธุรกิจของ Google Glass
          จะเห็นได้ว่า Google Glass เป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ผู้บริโภคให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ถึงแม้กระแสสังคมเชิงลบก็ยังคงมีออกมาเรื่อยๆ แต่นั่นก็ส่งผลให้ Google Glass ได้กลายเป็น Talk of the town และสร้างกระแสความอยากครอบครองของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ต้องจับตาดูน่าจะอยู่ที่คู่แข่งในวงการ IT ย่อมไม่มีทางยอมได้แน่นอน และผู้บริโภคอาจจะได้เห็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไฮเทคยิ่งไปกว่า Google Glass ในอีกไม่ช้าเช่นกัน (Google Glass,  2557  :  ออนไลน์ )
         ในวันที่กูเกิล Google Glass วางจำหน่ายในราคา 1,500 เหรียญสหรัฐหรือราว 45,000 บาท ผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นอย่างเอปสัน (Epson) ลงมือเปิดตัวแว่นตาลักษณะเดียวกันที่มาพร้อมเทคโนโลยีแสดงภาพเสมือนจริงหรือ Augmented Reality ในราคาที่ประหยัดกว่าเกือบครึ่งหนึ่ง แถมยังมีการฝังลำโพงระบบ Dolby และกล้องดิจิตอลด้านหน้า รวมถึงเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวแบบเต็มขั้น
         Epson ตั้งชื่อแว่นรุ่นใหม่ของตัวเองว่า Epson Moverio BT-200 หลักการทำงานของเครื่องคือ
การทำให้ผู้สวมใส่ได้ชมภาพคมชัดเต็มตาที่ฉายจากโปรเจกเตอร์จิ๋ว 2 ชุดซึ่งติดตั้งไว้ภายในแว่น
โดยภาพที่ได้จะมีความละเอียด 960x540 พิกเซล จุดนี้ผู้ใช้จะสามารถชมภาพยนตร์ส่วนตัวได้อย่างเต็มอรรถรสผ่านระบบเสียงดอลบี (Dolby) ที่ติดตั้งให้พร้อมในแว่น ขณะเดียวกันก็สามารถถ่ายภาพประสบการณ์ชีวิตได้จากกล้องหน้า รวมถึงใช้งานบริการที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวได้ผ่าน
เซ็นเซอร์แอ็กเซเลโรมิเตอร์ (Accelerometer) ทั้งหมดนี้ตัวแว่นสามารถใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์
ควบคุมการทำงานได้สะดวกMoverio BT-200 ที่ถูกพัฒนาให้มีความบางและมีประสิทธิภาพ
มากกว่ารุ่นแรกนั้นมีราคาจำหน่าย 700 เหรียญสหรัฐเท่านั้น ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าแว่นอัจฉริยะของ
กูเกิลมากกว่าครึ่ง (Epson Movierio,  2557  :  ออนไลน์ )

Epson Movierio BT-200


         แว่นตาดังกล่าวมีชื่อว่า เอปสัน มูฟวี่ริโอ บีที-200 (Epson Movierio BT-200) เป็นแว่นตาแสดงภาพที่พัฒนาขึ้นจากรุ่นบีที-100 โดยมีการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ให้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น ทั้งปรับปรุงให้มีขนาดเล็กลง มีน้ำหนักเบาลงถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ปรับรูปทรงให้สวมใส่ได้ง่ายสบายขึ้น ให้ภาพคมชัดขึ้นและสว่างขึ้น โดยให้ภาพได้ละเอียดถึง 960x540 มาพร้อมเลนส์แว่นสีเข้มสำหรับลดแสงรบกวนและกันยูวีเมื่อใช้งานภายนอก และนอกจากนี้ยังให้เสียงที่คมชัดด้วย Dolby Digital Plus
         ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์รายใหญ่อย่าง Epson เข้าร่วมวงผู้ผลิตแว่นตาอัจฉริยะอีกรายแล้วด้วยการเปิดตัว Moverio BT-200 รุ่นต่อยอดที่ปรับปรุงจากรุ่นก่อนหน้า BT-100 ซึ่งเป็นหน้าจอแบบสวมศีรษะในทรงของแว่นตา รัน Android ในตัวในรุ่น BT-200 นี้ แว่นตา Moverio ปรับให้บางเบาลง และเป็นทรงแว่นตามากขึ้น เทียบกับรุ่นก่อนหน้าแล้วกะทัดรัดลงถึง 60% แต่ยังสามารถแสดงหน้าจอตรงหน้า ที่ขนาดเสมือนกับทีวี 80" มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว จับตำแหน่งศีรษะ และกล้องหน้าสำหรับถ่ายภาพนิ่ง-วิดีโอ
การสั่งงานเจ้า BT-200 จะต่างจากแว่นตาของรายอื่น ตรงที่ไม่ได้ใช้การสั่งงานด้วยเสียง หรือท่าทาง แต่เป็นการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์หน้าตาเหมือนสมาร์ทโฟน (เรียกว่า Control Unit) เพื่อใช้สั่งงานโดยเฉพาะ ผ่าน trackpad บนหน้าจอ และเจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ยังใช้สำหรับต่อ Wi-Fi, Bluetooth รวมถึงเซนเซอร์อื่นๆ อีกด้วย
         Epson Movierio BT-200สามารถเชื่อมต่อกับ WiFi และ Bluetooth เพื่อดูภาพยนตร์แบบสตรีม หรือจะเก็บภาพยนตร์ไว้ชมใน Micro SD ก็ได้ โดยแบตเตอรี่สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ 6 ชั่วโมงต่อการชาร์จครั้งหนึ่ง สามารถชาร์จได้ทั้งผ่านสาย Micro USB หรือจะนำตัวแบตเตอรี่ซึ่งออกแบบให้มีปลั๊กไฟและระบบชาร์จในตัว เสียบเข้ากับปลั๊กไฟบ้านก็ได้เช่นกัน (Epson Movierio,  2557  :  ออนไลน์ )

การเปรียบเทียบระหว่าง Google Glass และ Epson Movierio BT-200



สรุปผลการศึกษา Google Glass
            จากข้อมูลของเทคโนโลยี Google Glass ทั้งหมดที่ สรุปได้ว่า Google Glass เป็นเทคโนโลยี
ที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกต่อมนุษย์โดยการนำข้อมูลมาอยู่ใกล้ตัว และสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสมาร์ทโฟน มีความยากยากและเป็นเรื่องไกลตัวในการที่บุคคลทั่วไปจะสวมใส่แว่นตาอัจฉริยะนี้ เนื่องจากอาจมีความคุ้นชินกับการใช้โทรศัพท์มือถือ หรือ สมาร์ทโฟน และอาจไม่มีความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในการใช้งาน Google Glass นั้นอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิต
ประจำวัน หรือเสียสมาธิในการทำงานได้ เพราะมีการแสดงผลการแจ้งเตือนผ่านโลกออนไลน์อยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้อาจทำให้มีโลกส่วนตัวมากจนเกินไปและทำให้ไม่สนในสภาพแวดล้อมรอบข้าง หากนำ Google Glass ไปใช้ในทางวิทยาการอื่นๆ มากกว่าการนำมาใช้งานกับคนทั่วไปอาจก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น
         จากการเปรียบเทียบข้อมูลของ Google Glass กับ Epson Movierio BT-200 เพื่อต้องการทราบถึงคุณสมบัติของ Google Glass ให้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งในการนำข้อมูลของ Epson Movierio BT-200 พบว่า Google Glass มีลักษณะการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงมีรูปร่างที่ดึงดูดต่อการนำมาสวมใส่ ซึ่งบริษัท Google ได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ Google Glass อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ที่ติดตามเทคโนโลยีประเภทนี้อยู่เกิดความตื่นเต้นและให้ความสนใจต่อการพัฒนา Google Glass นี้  นอกจากนี้บริษัท Google ยังได้นำ Google Glass ให้กลุ่มนักพัฒนาทดลองใช้ เพื่อหาข้อบกพร่อง และนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้มาพัฒนาให้การทำงานสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

*************************************


บรรณานุกรม

การใช้งานพื้นฐานอื่นๆ ด้วยแว่น Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://news.siamphone.com/
                news-17488.html(วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
การติดตั้ง Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://news.siamphone.com/news-17488.html.
                (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
การติดตั้งแอพพิเคชั่น  My  Glass(2557).  เข้าถึงได้จากhttp://news.siamphone.com/news-
                 17488.html.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
การวิเคราะห์ Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://y35.wikidot.com/it1-031.
                 (วันที่ค้นข้อมูล:1 ธันวาคม 2557).
จุดเด่น - จุดด้อย ของ Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://review.thaiware.com/568.html.  
                (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
ตัวอย่างการแสดงผลการใช้งาน Glassware Gallery(2557).  เข้าถึงได้จาก:
                 http://news.siamphone.com /news-17488.html.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
เมนูการตั้งค่า(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://news.siamphone.com/news-17488.html.
                (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
รายละเอียดและส่วนประกอบหลักของ Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:   
                 http://news.siamphone.com/ news-17488.html.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
แว่นตา.  (2557).  เข้าถึงได้จาก: 
                88%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B2/.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
แอพพิเคชั่น(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://th.wikipedia.org/wiki/โปรแกรมประยุกต์. 
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
อุปกรณ์เสริมและสิ่งที่จำเป็นต้องมีสำหรับการใช้งาน Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:                   
                  http://news.siamphone.com/news-17488.html.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
อัจฉริยะ(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Epson Moverio BT-200(2557).  เข้าถึงได้จาก:  https://www.blognone.com/node/56022.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Epson Moverio BT-200(2557).  เข้าถึงได้จาก: http://men.kapook.com/view80538.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Epson Moverio BT-200(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.manager.co.th/ Cyberbiz/
                 ViewNews.aspx?NewsID=9570000050582.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Epson Moverio BT-200(2557).  เข้าถึงได้จากhttp://www.epson.co.th/epson_thailand/
                 explore_epson/about_epson/news_centre/press_release_detail. page?fileName=press_
                 release_2014_07_openhouse.xm.  (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Glassware Gallery(2557).  เข้าถึงได้จากhttp://news.siamphone.com/news-17488.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:   http://news.siamphone.com/news-17488.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:   http://newtechnologygoogleglass.blogspot.com.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Google Glass(2557).  เข้าถึงได้จาก:   http://www.rimnam.com/IT/Google-Glass.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Google Glass กับผลกระทบต่อวงการธุรกิจ(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://y35.wikidot.com/it1-031.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Google Glass  คืออะไร(2557).  เข้าถึงได้จาก:  http://www.rimnam.com/IT/Google-Glass.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
Specification(2557).  เข้าถึงได้จากhttp://news.siamphone.com/news-17488.html.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).
SWOT   Analysis(2557).  เข้าถึงได้จากhttp://th.wikipedia.org/wiki/การวิเคราะห์สวอต.
                 (วันที่ค้นข้อมูล: 1 ธันวาคม 2557).